[ภาษาไทย - เลื่อนลงข้างล่าง]
Thessaloniki has been named a “city of gastronomy.” I don’t know how it got such a title since there isn’t even any real hot chili. (And chili flakes they have are not spicy AT ALL, no matter how much you add it in your food.) A worse part to me is that I couldn’t find Thai restaurants or even the ones selling non-authentic Thai dishes. So, that is why I got many more chances to cook them by myself, and fortunately there was a proper kitchen in my shared flat and I bought enough savory condiments and pastes from home. So I still got to have some tom yum, pad ka prao and stuff.
However, Thai cuisine is about sharing the food and the moment with your loved ones. (Okay, in everyday life we don’t share dishes for every meal, we do go to fast-food curry or noodles places in our neighborhoods. Something equivalent in Greece would be a “makipefta [μαγειρευτά]” place.) So I tried to find some special occasions to cook Thai and bring some people together. There were three times I got to be the head chef of the house.
My first spring (or summer? whatever you call, I can't tell the difference) rolls for the Christmas table at our neighbors'. This was (considered by me as) a trial before Pete's Canteen.
The first one was the Christmas Eve lunch. I know it sounds strange to cook Asian food for the Christian holidays. It was kind of an experiment for me because there were only two of us, me and my roomate/colleague at school, while the others left the city during the break. I made “pa-lo” hard-boiled eggs and pork belly Chinese-spiced brown soup, pad kra pao, some burnt stir-fried wok vegetable and of course rice cooked in a tiny Ikea pot. Juan brought us a decent wine and he seemed really interested in the exotic dishes in front of him. We were relishing the food, talking and gossiping about our teachers for almost three hours. We finished all the food, which had been literally a lot. At night we went out to see how people here celebrate Xmas Eve (which actually wasn’t spectacular compared to the Orthodox Easter holiday). Having Thai food again, I felt closer to home before my home came to me two days later to visit me here. I really had a good time with Juan although we hadn’t been on the same page for a moment before.
The only Xmas thing on the table: the napkin
The second Thai table was on the Chinese (or Lunar) New Year. At first I was thinking of having dinner with friends at a Chinese restaurant in town, then the plan changed and somehow I, energized enough, proposed to host the dinner. I asked my friends and my flatmates to invite their friends over, and I also had my own guests. Eventually there were 13 people that night (was this a Moo Pa rescue?), with me solo cooking. This time I got so ambitious that I wanted to try doing crispy pork belly, one of the Thais’ favorite dishes. I watched videos on YouTube and saw this recipe that we only have to deep fry the meat three times (usually we either have to boil or steam the pork, then dry it before deep frying to get a real nice, crispy pork skin). There were two major problems. First, I asked the bucherer to slice the pork belly “too fine”, about 3 cm instead of 5 cm. Second: during my first fry: the oil turned into water and the pork looked rather boiled than fried. Shit. I had to change the oil and rest the meat, thinking this would be really fucked up. Even though my pork belly was on the brink of being overcooked and too thin, it turned out satisfying! I tried out the leftovers in the pot and… ummmmmmmm. It was like a crispy pork snack found in 7-Elevens. One of my roommates noticed that I was really happy. Hell sure I was. “You really put an effort into this,” Miss Earrings, the other flatmate, told me while I was figuring out what to do with the watered oil. Besides the pork belly, there were vegetable green curry, the same old Chinese-spiced brown soup and chicken khua-kling, a Southern spicy, dry fried curry I’d made out of savory power. Z., my flatmate, also did some Malaysian dishes like mi goreng and another one I can’t recall while Elena, my Greek buddy, brought some sweets in. Thanh Thanh let me use her rice cooker, which is an indispensable kitchen appliance in Asian households, and bought some jasmine rice while her friend Magali prepared a fruit salad. I had a Chinese cake for them to try (we had to have something Chinese). It turned out most of them did not like it, and I had to finish it for my next breakfasts.
Chinese New Year edition
I proudly presented my latest (and last) dinner party to celebrate Songkran, Thai traditional New Year, in April. I had planned for it days after the Chinese New Year party and knew almost exactly what to cook. When I briefly went back to BKK in March, I bought condiments, curry pastes and coconut milk because they are cheaper and more varied. I didn’t expect to see sachets of instant bubble tea at all: it was so innovative and so Asian. I took two packages of them and hoped my Asian friends would like it (and they did!). The most ambitious dish this time was pork and chicken satay sticks. I never did satay before, but to properly celebrate the festival, which also serves as the National Elderly Day, I just wanted to make it once. I’ve always heard my father say how delicious my great grandmother did satay, selling it at the Damnoen Saduak floating market. and he claims her satay was the best in the country. So this dish is in a way a commemoration to my ancestors (do I need incense now?). Instead of grilling, I had to put stay sticks in the oven, and luckily they turned out fine. The satay condiment package was accompanied with ready-to-make peanut sauce and ajad salad dressing. So I didn’t have to do everything from scratch. Another difficult task was to find a Greek word for “shank (κότσι - kochi)” and say it to the bucherer. The shank was for my massaman curry, which was named the best curry in the world. Strewed for hours, massaman was almost perfect, I forgot to top it with some peanuts while serving. My laab Northeastern spicy deep-fried meatballs were also a success as we finished all of them in a blink of an eye. Z.’s fresh spring rolls and Magali’s fruit salad were a perfect taste balance to my spicy dishes. We also had great chocolate desserts from Maïté and her colleague, as well as my Greek friend’s. Although we began the night with my clumsiness, spilling someone’s bubble tea placed behind the fridge, the dinner went quite well. Some water flights were done as they should have been. Eventually there were 20 people at my place, and it was definitely one of my best nights I’ve had during my stay in Europe.
A Thai feast (with my finger and elephant pants)
I am glad to have added some more flavors to this city although I only opened the “canteen” a few times and shared those tastes to a limited number of people. What’s important in Thai cuisine is to bring people together and have a proper, comforting, yet flavourful and often spicy meal everyone should have. Now I can’t wait to return to the motherland and share all the flavors in life with my loved ones.
Thank you to those whom I shared a quality time with at Pete's Canteen. Hopefully you will get a chance to visit our Grand Kitchen in Minburi, BKK some time in the future :)
Preview: an emblematic steamed grouper in soy sauce, cooked by Ma, the Supreme Chef of Minburi Grand Kitchen; fish bought by Dad, the Supreme Commander of the House
.....
แม้เทสซาโลนิกิจะได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งอาหาร แต่เราก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่ว่าทำไมเมืองนี้ถึงมีชื่อเสียงในด้านนี้ ทั้ง ๆ ที่พริกเผ็ด ๆ ยังหาไม่ได้สักเม็ด และพริกป่นที่มีก็ไม่ยักกะเผ็ดเลยสักนิด แถมยังไม่มีร้านอาหารไทยเลย แม้แต่ร้านที่ขายอาหารไทยหลอก ๆ ก็บ่มี (อันนี้บาปมาก) จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพรช. ถึงทำอาหารไทยกินเองบ่อยขึ้น พอจะได้กินต้มยำ ผัดกะเพรา และอื่น ๆ ให้หายคิดถึงอาหารรสจัดขึ้นมาหน่อย และโชคดีที่อุปกรณ์ครัวในอพาร์ทเมนต์และเครื่องปรุงสำเร็จรูปก็มีพร้อมให้เข้าครัวได้อย่างสบายใจ
อย่างไรก็ดี สารัตถะของครัวไทยคือการแบ่งบันอาหารและช่วงเวลากับคนที่เรารัก เราเลยพยายามหาโอกาสพิเศษ ๆ ที่จะได้โชว์ฝีมือพ่อครัวหัวป่าก์ (ผู้มีโลโบ้เป็นผู้ช่วยหลัก) และเชิญแขกเหรื่อมาแวะเวียนชิมกับข้าวกับปลาไทย อยู่เมืองนี้มา 9-10 เดือน เราก็เปิดร้านพี่เก้าข้าวราดแกงสาขาเทสซาโลนิกิไปสามครั้งถ้วน
ทำเอง กินเอง จุ่ยเอง
ประเดิมเปิดร้านครั้งแรกในช่วงเทศกาลคริสต์มาส อาจจะฟังดูแปลก ๆ สักหน่อยที่มาผัดกะเพรากินแทนที่จะอบหมูอบไก่ในวันคริสต์มาสอีฟ ตอนนั้นเราอยู่กับฮวน - เมทและเพื่อนร่วมโปรแกรมป. โท - กันสองคน ส่วนคนอื่น ๆ ก็กลับไปบ้านไปช่องตามเรื่องราว เราต้มไข่พะโล้ ผัดกะเพราหมู ผัดผักไหม้ ๆ (เพราะทิ้งในกระทะนานไปหน่อย) และหุงข้าวในหม้ออิเกียจิ๋ว ๆ ส่วนตาฮวนก็เอาไวน์ดี ๆ ที่น่าจะกินเหลือกับผู้มาแบ่งเรา และนางดูจะตื่นเต้นพอสมควรกับอาหารจานแปลกที่อยู่บนโต๊ะ เรานั่งกินข้าวกันอยู่เกือบสามชั่วโมง คุยไปเรื่อย และนินทาครูบาอาจารย์ในโปรแกรมกันตามประสานักเรียน ไม่น่าเชื่อว่าเราจะกินกับข้าวกันเกลี้ยง ไม่ใช่น้อย ๆ เลยนะมื้อนั้น ตกกลางคืนเราออกไปดูผู้คนฉลองคริสต์มาสอีฟกันหอมปากหอมคอ ใด ๆ ก็ตาม ได้กินอาหารไทยก็เป็นการเตรียมตัวที่ดีก่อนที่บ้านจะมาหาเราในอีกสองวันถัดมา ถึงจะมะง้องมะแง้งกับตาฮวนมาเป็นเนื่อง ๆ แต่ในวันนั้นเราก็ต่อกันติดมากขึ้น และช่วงเวลาดี ๆ ด้วยกันจริง ๆ
อบอุ่นโรแมนติกตามประสาเมท
ปาร์ตี้อาหารไทยครั้งที่สองจัดขึ้นในวันตรุษจีน ตอนแรกเรากะว่าแค่จะไปกินข้าวกันในหมู่เพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ร้านอาหารจีนสักที่ในเมือง ไป ๆ มา ๆ แผนเปลี่ยน พรช. เสนอตัวเป็นเจ้าภาพทำกับข้าวเลี้ยง และพี่แกก็ให้เพื่อนกับรูมเมทชวนพรรคพวกมาจอยอีก สิริรวมทั้งสิ้น 13 ชีวิตรวมเจ้าบ้าน (อย่างกับทีมหมูป่า) พรช. ก็เกิดคึกอยากจะทำหมูกรอบขึ้นมา เลยตามดูวีดิโอใน YouTube แล้วเห็นสูตร ๆ หนึ่งที่แค่ทอดหมูสามครั้งแล้วได้หมูกรอบเลย ไม่ต้องนึ่ง ต้ม หรือตากแดดใด ๆ แต่ปัญหาก็บังเกิด อย่างแรก เราขอให้คนขายเนื้อแล่สามชั้นบางเกินกว่าที่ควรจะเป็น หนาขาดไป 2 ซม. อย่างที่สอง ตอนทอดรอบแรก น้ำมันดันกลายเป็นน้ำ (มึงบ้าเปล่าเนี่ย) ต้องรีบเปลี่ยนน้ำมันและเอาหมูขึ้นมาพักก่อน ถึงจะทุลักทุเล รอดแล่ไม่รอดแล่ แต่สุดท้ายเราก็ทำหมูกรอบ “แทร่ ๆ” จนได้ ตอนจกเศษก้นหม้อขึ้นมาชิม รสชาติคือหมูแผ่นกรอบใน 7-11 ไม่มีผิดเพี้ยน สีหน้าพี่แกคือมีความสุขมาก (เสียงสมภพ ช่อประดับ) จนเมทคนหนึ่งทัก “โห นี่นายทุ่มทุ่นจริง ๆ นะ” คุณต่างหู - เมทอีกคน - พูดขึ้นมาตอนที่เรากำลังวุ่นอยู่กับการเปลี่ยนน้ำมัน นอกจากหมูกรอบ เรายังมีแกงเขียวหวานผัก ไข่พะโล้คนดีคนเดิม และคั่วกลิ้งไก่ ซ. เมทของเราก็ทำหมี่โกเรงกับอาหารมาเลย์สักอย่างที่เราจำไม่ได้แล้ว ส่วนเอเลนา - บัดดี้ภาษากรีกที่หลัง ๆ มาพูดกันแต่อังกฤษ - ก็เอาช็อกโกแลตอร่อย ๆ มาฝาก ที่เป็นพระคุณมากก็คือธัน ธัน ให้ยืมหม้อหุงข้าวและซื้อข้าวหอมมะลิมาให้ และมากาลี - เพื่อนนางจากคลาสกรีก - ก็ทำสลัดผลไม้มาแจมด้วย เจ้าภาพแกก็ให้พ่อแม่ซื้อขนมเปี๊ยะไส้ไข่เค็มมาฝาก (ก็ตรุษจีนอะเนอะ) แต่ดูจะไม่ถูกใจฝรั่งและต่างชาติสักเท่าไหร่ จนพี่แกต้องจกขนมเปี๊ยะกินเป็นมื้อเช้าไปอีกสามสี่วัน
ร้อยวันพันปีไม่เคยจะให้พรใด ๆ รักเธอเกินใครก็เลยให้ เฮง เฮง เฮง!
ที่พรช. ภูมิใจนำเสนอสุด ๆ ก็คือปาร์ตี้มื้อค่ำวันสงกรานต์ หลังจบตรุษจีนแปบเดียว พี่แกก็วางแผนวันสงกรานต์ต่อ และคิดเสร็จสรรพว่าจะทำอะไรกินบ้าง ตอนที่เราแอบกลับกรุงเทพฯ ไปช่วงมีนาฯ ก็ซื้อทุกอย่างที่ต้องใช้จากเดอะมอลล์ บางกะปิ และบังเอิญเห็นชานมไข่มุกสำเร็จรูปเป็นครั้งแรกในชีวิต ไม่รอช้า หยิบมาสองแพ็คใส่รถเข็น หวังว่าเพื่อน ๆ ชาวเอเชียบ้านเราจะปลื้มใจ (แล้วพวกนางก็ปลื้มจริง) ส่วนเมนูหาทำในรอบนี้ คือหมูกับไก่สะเต๊ะซึ่งไม่เคยทำมาก่อน แต่เพื่อรำลึกถึงทวดที่ทำสะเต๊ะได้อร่อยที่สุดในสยามประเทศ (อันนี้พ่อโม้มา) ประจวบเหมาะกับการฉลองวันผู้สูงอายุของไทย ก็ต้องลองกันสักตั้ง เราต้องอบแทนปิ้งเพราะที่ไม่อำนวย แต่หมูและไก่ก็ออกมาสุกกำลังดี น้ำจิ้มกับอาจาดก็เตรียมจากซองเครื่องปรุงที่ให้มา (ถ้าคนของโลโบ้อ่านอยู่ มาเป็นสปอนเซอร์ให้ได้นะครับ ทั้งไทยทั้งเทศรับประกันว่าอร่อยจริง) งานหินอีกอย่างคือต้องหาศัพท์คำว่า “เนื้อหน้าขาวัว” ไปบอกคนกรีก แล้วเราก็เอาเนื้อมาทำมัสมั่น และโม้ไปตามข้อเท็จจริงว่า นี่คือชนิดแกงที่ดีที่สุดในโลก พี่แกตุ๋นจนได้ที่ แต่ดันลืมโรยถั่วลิสงปิดท้าย เอ๊า ไม่พอ พรช. ยังทำลาบทอดที่ขายดีจนหมดเกลี้ยง และซ. กับมากาลีก็ทำปอเปี๊ยะสดและสลัดผลไม้มาตัดกับอาหารรสจัดมากจัดน้อยของเรา ไมเต - เมทอีกคน - เพื่อนนาง และเพื่อนกรีกของเราก็มีขนมมาล้างปากตบท้าย ถึงผู้บ่าวไทบ้านเจ้าภาพหลักจะเปิดงานด้วยความซุ่มซ่าม ทำชานมของใครไม่รู้หลังตู้เย็นหกกระจาย แต่ทุกอย่างก็ “ลาบ” รื่น เพื่อนฝูงบางคนหยิบปืนฉีดน้ำจิ๋ว ๆ มายิงกันอย่างที่ควรพึงทำในวันสงกรานต์ คืนนั้น 20 ชีวิตมารวมตัวกันโดยนัดหมาย และก็เป็นคืนที่น่าจดจำมาก ๆ คืนหนึ่งของพรช. ในช่วงสองปีที่ติดเหง็กอยู่ในยุโรป
ทำไปจกลาบทอดไป
เราก็ดีใจที่ได้นำเสนอรสชาติใหม่ ๆ ให้เมือง ๆ นี้ ถึงจะไม่ได้เปิดครัวบ่อย ๆ และมีคนมาร่วมแจมไม่กี่คนก็ตาม อย่างที่เกริ่นไป สิ่งสำคัญในวัฒนธรรมอาหารไทย คือการนำผู้คนมาเจอะเจอกัน และร่วมกันชิมกินอาหารหลากหลายจานอย่างที่ทุกคนควรลอง ส่วนตอนนี้ เราเองก็อดใจไม่ไหวแล้วที่จะได้กลับบ้านเกิดเมืองกิน ได้กลับไปแบ่งปันรสชาติแห่งชีวิตกับคนที่เรารักอีกครั้ง
ขอบคุณแขกทุกคนที่มาเปิดประสบการณ์อาหารที่พี่เก้าข้าวราดแกงสาขาเทสซาโลนิกิ และหวังว่าสักวันหนึ่ง จะได้มาเยือนครัวใหญ่สาขามีนบุรี กรุงเทพฯ เด้อ
Written by Peerachai Pasutan
Photos taken by: porrorchor, Thanh Thanh, Elena and Z.
Related content porrorchor EATS: Student Life Edition in Bangkok, Strasbourg & Thessaloniki